วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

สอบเก็บคะแนน


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์จัดสอบเก็บคะแนน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน ครั้วที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 8.30-12.20


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  • การกินอยู่ 
  • การเข้าห้องน้ำ 
  • การแต่งตัว 
  • กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเองอยากทำงานตามความสามารถเด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การที่เด็กได้ทำด้วยตนเองเกิดการเชื่อมั่นในตนเองเกิดความรู้สึกดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไรก็เหมือนกับเรา , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบายหลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
  • การเข้าส้วม

- เข้าไปในห้องส้วม                 - กดชักโครกหรือตักน้ำราด                                                           
- ดึงกางเกงลงมา                    - ดึงกางเกงขึ้น
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม             - ล้างมือ
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ            - เช็ดมือ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น        - เดินออกจากห้องส้วม
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองเด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรม
วาดวงกลม เล็กหรือใหญ่ตามต้องการ และระบายสีรอบวงกลมไปเรื่อยๆ กิจกรรมนี้จะได้รู้ถึงลักษณะนิสัยความคิดของเรา จากนั้นตัดวงกลม และสร้างเป็นต้นไม้ประจำห้อง




















การนำไปใช้
การย่อยงาน เรียงตามลำดับขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เด็กพิเศษสามารถทำได้ด้วยตนเอง ให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองบ้าง เราต้องใจแข็ง เพราะผลที่ได้เก็กก็จะภูมิใจในตนเอง รู้สึกดี เชื่อมั่นในตนเอง
การประเมิน
ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา จดเลกเชอร์ที่สำคัญ ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
เพื่อน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ ตั้งใจจดบันทึก
อาจารย์ มีกิจกรรมแปลกๆ มาให้ทำอยู่เสมอ ทำให้การเรียนมีสีสัน และไม่เครียดจนเกินไป




วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


2. ทักษะภาษา

  •   การวัดความสามารถทางภาษาเหมียว ๆ น้ำลายยืด

            เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย ถามหาสิ่งต่างๆ 
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

  • การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัดเหมียว ๆ น้ำลายยืด

            การพูดตกหล่น การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง ติดอ่าง

  • การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่เหมียว ๆ น้ำลายยืด

             ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด  ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด” อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็กไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินของครูและผู้ใหญ่

  • ทักษะพื้นฐานทางภาษาเหมียว ๆ น้ำลายยืด

  1. ทักษะการรับรู้ภาษา
  2. การแสดงออกทางภาษา
  3. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • ความรับผิดชอบของครูปฐมวัยเหมียว ๆ น้ำลายยืด

             ให้เวลาเด็กได้พูดคอยให้เด็กตอบ เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียวให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อนกระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูดใช้คำถามปลายเปิดเด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้นร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)เหมียว ๆ น้ำลายยืด

เข้าไปถาม อาจจะถามย้ำเมื่อเด็กไม่ตอบ และสามารถช่วยเด็กได้








เหมียว ๆ มีความรักผลิบานผ่านมือครู : จังหวะกาย จังหวะชีวิต รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ

       นำดนตรีมากระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ การฟัง สมาธิการจดจ่อ ความคล่องตัว ยืดหยุ่น แข็งแรงของการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ การทรงตัว ภาษา การเปล่งเสียง ความเข้าใจเรื่องจังหวะ ของตนเองและผู้อื่น จินตนาการ และการเล่นเป็นกลุ่ม เลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง

กิจกรรม


จับคู่ เลือกสีเทียนคนละแท่ง วาดเส้นตรงตามเสียงเพลงอย่างอิสระ และระบายสีในช่องที่มีเส้นตัดกัน

การนำไปใช้
  • แนวทางการสอนโดยใช้ดนตรี ในวีดีโอ 
  • กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ สามรถนำไปใช้ทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติ
  • วิธีการสอนตามเหตุการณ์
  • ความรับผิดชอบที่ครูควรทำ
การประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจจะเรียนไม่รู้เรื่องเท่าไหร่เนื่องจากในห้องเพื่อนเสียงดัง และไม่มีสมาธิ
เพื่อน  มีเพื่อนที่มาสาย และมีเพื่อนห้องอื่นมาเรียนร่วมด้วย ซึ่งในส่วนตัวแล้วไม่ชอบเนื่องจากเพื่อนคุยหนักมากไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์
อาจารย์  วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยหันมาทางพวกหนูเลย  แต่อาจารย์ก็พยายามที่จะควบคุมในห้องเรียนเต็มที่ มีกิจกรรมมาให้ผ่อนคลายทุกอาทิตย์




วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 3  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

ก่อนเข้าบทเรียนมีกิจกรรมสนุกๆ "รถไฟเหาะแห่งชีวิต" เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวในการเข้าบทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

  1. ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรก เด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรที่น่าสำรวจ ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้จักวิธีการเล่น
  • เริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เล่นเป็นกลุ่ม 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู"ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ หากเด็กหันมา
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น * ค่อยๆใส่ของเล่น เพื่อยืดเวลาเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
* อย่ายืนหันหลังให้เด็กกลุมอื่น

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย"การพูดนำของครู" *บอกบท
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


                            
      การที่จะให้เด็กปกติที่เล่นกันเป็นกลุ่ม หรือเด็กพิเศษยืนมองอยากเข้าไปเล่นด้วย เราอาจจะให้ของเล่นแก่เด็กพิเศษและพาเด็กเข้าร่วมกลุ่มเพื่อนโดยพูดชักชวนเด็กปกติ เช่น "เพื่อนมีของเล่นเยอะแยะเลย"
   

เพลงวันนี้^^




กิจกรรมวันนี้ 

จับคู่ 2 คน  ลากเส้นตามจังหวะเสียงเพลงและให้เพื่อนอีกคน เติมจุด หากลากเป็นวงกลม จากนั้นให้มองภาพว่าเห็นเป็นภาพอะไร



Post Test

ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง

การนำไปใช้
  • วิธีการที่ทำให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติเล่นร่วมกัน
  • การจับให้เด็กพิเศษอยู่ในกลุ่มเด็กปกติ เด็กปกติ 3 เด็กพิเศษ 1
  • วิธีการค่อยๆ ให้ของเล่นแก่เด็ก เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • พฤติกรรมที่ควรทำของครูเมื่อเด็กกำลังทำผลงาน
ข้อความข้างต้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนรวมในอนาคตการเป็นครูฝึกสอนและวิชาชีพครูได้อย่างดี 

การประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจรับความรู้จากอาจารย์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อน  มีเพื่อนที่มาสายนิดหน่อย ตั้งใจผังอาจารย์ จดบันทึก แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
อาจารย์   ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เข้าใจง่าย มีกิจกรรมสนุกๆ เพื่อผ่อนคลายและน่าสนใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง