วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

                                                                                        
 อาจารย์ให้วาดรูปเหมือนจริง ดอกทานตะวันและบรรยายสิ่งที่เห็น



ผลงานของฉัน




ดอกทานตะวันเด่นอยู่กลางแมกไม้ใบของมันและกลีบของมันสดใสดุจ "ดวงอาทิตย์"



   

*การบันทึกพฤติกรรมของเด็กไม่ควรใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วยให้บรรยายาในสิ่งที่เห็น








บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม   
                ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

                ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

  ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

  ครูทำอะไรบ้าง
ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย สังเกตเด็กอย่างมีระบบ จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  สังเกตอย่างมีระบบ
ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

  การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้นบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

  ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

  การบันทึกการสังเกต

การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
     การบันทึกต่อเนื่อง
  •       ให้รายละเอียดได้มาก
  •       เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  •       โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
    การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  •       บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  •       เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

  การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  •      ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  •      พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

  การตัดสินใจ
ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ปฏิบัติตามบทบาทและเหมาะสมกับห้องเรียนรวม ช่วยเหลือสังเกตและบันทึกอยางถูกวิธีรวมไปถึงการพูดคุยและให้คำแนะนำกับผู้ปกครองอย่างถูกต้อง

การประเมิน
                 ตนเอง   ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอนตั้งใจวาดภาพถึงจะบรรยายผิดไปบ้างแต่ก็พยายามอย่างเต็มที่  ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและอาจารย์
                 เพื่อน    เสียงดังและคุยกันบางครั้ง ตั้งใจทำในหน้าที่ที่ได้รับเพื่อนๆวาดภาพสวยมากค่ะ
                อาจารย์ มีการใช้เทคโนโลยีในการสอน มีการสอนที่แปลกใหม่เพื่อสอดแทรกเข้ากับเนื้อหาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาครบถ้วนและพูดจาชัดเจนพร้อมยกตัวอย่าง


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

                การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สอนเรื่อง  รูปแบบการจัดการศึกษา

  • การศึกษาปกติทั่วไป  ( Regular Education )
  • การศึกษาพิเศษ  ( Special Education )
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม  ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
  • การศึกษาแบบเรียนรวม  ( Inclusive Education )

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
                การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน โดยมีครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน  แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.  การเรียนร่วมบางเวลา ( Integraion )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
2.  การเรียนร่วมเต็มเวลา  ( Mainstreaming )  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการการเรียนรู้และนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ เด็กกลุ่มนี้อยู่ในระดับน้อยเพราะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้เต็มวัน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  •  การศึกษาสำหรับทุกคน 
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับการศึกษา 
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • การจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยเริ่มเข้ามาเรียนตั้งแต่เปิดเทอมและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล 
  • สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ 
  • เด็กเป็นผู้เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  • ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึงของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
          
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • จัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กสามารเรียนรวมกับเด็กกติได้
  • เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเด็กปกติกับเด็กพิเศษเพื่อห้เด็ปกติรู้จักดูแลห่วงใยและรักเพื่อน

การประเมิน
                ตนเอง   ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน  ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและอาจารย์
                เพื่อน  เสียงดังและคุยกันบางครั้งแต่เพื่อนก็เรียนเข้าใจ และตั้งใจฟังอาจารย์
                อาจารย์  เตรียมความพร้อม มีการใช้เทคโนโลยีในการสอน มีเนื้อหาครบถ้วนและพูดจาชัดเจนพร้อมยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น



วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่จะเรียนในเทอมนี้รวมถึงอธิบายรายวิชาการจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยและทำ Pre-test ก่อนเรียน ในวิชานี้เน้นการร้องเพลง และในวันนี้อาจารย์ได้เตรียมเพลงมาเพื่อฝึกฝนดังนี้





เพลง นม
นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง


เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน  
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน  
ฟันสะอาดให้ขาวเงางาม
แปรงฟันให้ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันให้ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง



เพลง พี่น้องกัน
 บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
   พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
     ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน


เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา  
ฟอกสบู่ถูตัวชำระเหงื่อไคล  
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าได้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ 



เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกสุขใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใส เมื่อมาโรงเรียน

ประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีคุยในห้องนิดหน่อย ตั้งใจฝึกร้องเพลง ตั้งใจทำ Pre-test มีถามเพื่อนนิดหน่อย สนุกที่ได้เรียนกับอาจารย์ ดีใจมาก
เพื่อน เพื่อนในห้องตั้งใจเรียนมาก ไม่คุยกันเลยมีแต่กลุ่มหนูที่คุย@_@ มาเรียนตรงเวลา และตั้งใจร้องเพลง
อาจารย์ ยังน่ารักเหมือนเดิมให้คำปรึกษาที่ดีเสมอไม่ว่าจะเรื่องอะไร เตรียมตัวมาสอนดีมาก ทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้เรียน