วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 8.30-12.20


ในวันนี้พวกเราได้สอบร้องเพลงที่เรียนมาทั้งหมดกับอาจารย์ดิฉันจับฉลากได้เพลง

*รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย



ความรู้สึกที่ได้ร้องเพลงนี้ สนุกดีค่ะ จังหวะครื้นเครง ร้องไปก็อยากจะรำวงไป อยากให้อาจารย์เอาเพลงที่พวกหนูได้เรียนไปสอนน้องต่อค่ะ เพราะมีประโยชน์อย่างมาก เราสามารถนำไปใช้ร้องกับเด็กได้ เป็นการฝึกความกล้าแสดงออกด้วย ขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่สอนหนู อยากให้ปีหน้าอาจารย์สอนพวกหนูอีก แต่ไม่เป็นไรค่ะ ยังไงก็ได้เจอกันอยู่ดี อาจารย์เป็นอาจารย์ที่น่ารักมาก สำหรับหนู เรียนกับอาจารย์แล้วไม่เครียด รู้สึกเป็นกันเอง และอยากเรียน บรรยากาศการสอบร้องเพลงก็ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด เพื่อนๆ ก็ช่วยกัน สุดท้ายหนูจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้กับเด็กให้ดีที่สุด เป็นกำลังใจให้พวกหนูในการสังเกตการสอนและการฝึกสอน ล่วงหน้าด้วยนะคะ ^^ ขอบคุณมากๆ เลยค่ะอาจารย์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 8.30-12.20


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 

(Individualized Education Program)


แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก


การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไรประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
-          รายงานทางการแพทย์
-          รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-          บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-          ประชุมผู้ที่ กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-          กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-          จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
  • น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  • น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์

1. จะสอนใคร
2. พฤติกรรมอะไร
3. เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

-          ใคร                                          อรุณ
-          อะไร                                        กระโดดขาเดียวได้                 
-          เมื่อไหร่ / ที่ไหน                       กิจกรรมกลางแจ้ง
-          ดีขนาดไหน                             กระโดดได้ขาละ 5 ครั้งในเวลา 30 วินาที

-          ใคร                                          ธนภรณ์
-          อะไร                                        นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย           
-          เมื่อไหร่ / ที่ไหน                       ระหว่างครูเล่านิทาน
-          ดีขนาดไหน                             ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาทีเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน


3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  • ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  • ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  • อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**





ตัวอย่าง






การนำไปใช้

ได้เรียนรู้การเขียนแผน และได้ลองเขียนแผน IEP กับเพื่อนภายในกลุ่ม การนำเอาความรู้ที่ได้ในอนาคตความเป็นครู

ประเมิน

ตนเอง แต่งกายเรียบร้อย แสดงความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อนในการเขียนแผน
เพื่อน ช่วยกันระดมความคิดเขียนแผน IEP กันเป็นกลุ่ม
อาจารย์ ให้ความรู้และยกตัวอย่าง ให้คำแนะนำในการเขียนแผน


เทศกาลสงกรานต์




ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากปิดเทศการสงกรานต์



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 8.30-12.20



4.  ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
-          การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-          มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-          เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้  
-          พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-          อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
-          ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-          จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-          เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-          เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-          คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
 ได้ยิน เห็น  สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
   ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-          การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-          ต่อบล็อก
-          ศิลปะ
-          มุมบ้าน
-          ช่วยเหลือตนเอง


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

-          ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-          รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



ความจำ
-          จากการสนทนา
-          เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-          แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-          จำตัวละครในนิทาน
-          จำชื่อครู เพื่อน
-          เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์




การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-          จัดกลุ่มเด็ก
-          เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-          ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-          ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-          ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-          บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-          รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-          มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-          เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-          พูดในทางที่ดี  
-          จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-          ทำบทเรียนให้สนุก


การนำไปใช้
           เรียนรู้ที่จะเข้าใจเด็กพิเศษ ช่วงความสนใจของเด็ก อุปกรณ์ต่างๆสำหรับเด็กพิเศษ การวางแผนในการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิชาการ
ประเมิน
ตนเอง แต่งกายเรียบร้อย คุยในห้องเรียนนิดหน่อย
เพื่อน ตอบคำถามอาจารยื ตั้งใจฟังอาจารย์
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย พูดจาชัดเจน ยกตัวอย่างประกอบ




วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

สอบเก็บคะแนน


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์จัดสอบเก็บคะแนน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน ครั้วที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 8.30-12.20


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  • เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  • การกินอยู่ 
  • การเข้าห้องน้ำ 
  • การแต่งตัว 
  • กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเองอยากทำงานตามความสามารถเด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การที่เด็กได้ทำด้วยตนเองเกิดการเชื่อมั่นในตนเองเกิดความรู้สึกดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไรก็เหมือนกับเรา , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบายหลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
  • การเข้าส้วม

- เข้าไปในห้องส้วม                 - กดชักโครกหรือตักน้ำราด                                                           
- ดึงกางเกงลงมา                    - ดึงกางเกงขึ้น
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม             - ล้างมือ
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ            - เช็ดมือ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น        - เดินออกจากห้องส้วม
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองเด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรม
วาดวงกลม เล็กหรือใหญ่ตามต้องการ และระบายสีรอบวงกลมไปเรื่อยๆ กิจกรรมนี้จะได้รู้ถึงลักษณะนิสัยความคิดของเรา จากนั้นตัดวงกลม และสร้างเป็นต้นไม้ประจำห้อง




















การนำไปใช้
การย่อยงาน เรียงตามลำดับขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เด็กพิเศษสามารถทำได้ด้วยตนเอง ให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองบ้าง เราต้องใจแข็ง เพราะผลที่ได้เก็กก็จะภูมิใจในตนเอง รู้สึกดี เชื่อมั่นในตนเอง
การประเมิน
ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา จดเลกเชอร์ที่สำคัญ ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
เพื่อน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ ตั้งใจจดบันทึก
อาจารย์ มีกิจกรรมแปลกๆ มาให้ทำอยู่เสมอ ทำให้การเรียนมีสีสัน และไม่เครียดจนเกินไป