บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
อาจารย์ให้วาดมือซ้ายของตัวเองเนื่องจากสิ่งที่อยู่กับเรามาทั้งชีวิตและเราเห็นมันทุกวันแต่ไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ เหมือนกับการบันทึกพฤติกรรมของเด็กหากเราแค่เห็นแต่ไม่บันทึกในทันทีสิ่งที่เราเห็นจะนำมาบันทึกไม่ได้ละเอียดและอาจจะคลาดเคลื่อนต่างจากหากเราเห็นและบันทึกในทันทีก็จะสามารถจดรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน
การสอนเด็กพิเศษ
ทักษะของครูและทัศนคติ
มองเด็กแต่ละคนให้เท่าเทียมกันมองข้ามความเป็นเด็กพิเศษ และมองเด็กในภาพรวม จดจำชื่อจริง ชื่อเล่นของเด็กได้
การเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น หรือสัมมนา
- สื่อต่างๆ เพราะทุกวันนี้สื่อสำหรับเด็กพิเศษมีหลากหลายที่จะให้ความรู้ต่างๆ เช่น ทางอินเทอร์เน็ต
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้านคลึกกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก ไม่ใช่มองเด็กต่างกัน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคน พยายามพูดในด้านที่ดีของเด็ก
- ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ เด็กไม่ต่างกัน
- แรงจูงใจ
- โอกาส ต่างกันเด็กแต่ละคนมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสของแต่ละคน เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนสามารถได้ทำกิจกรรม ไม่ควรที่ยากและง่ายจนเกินไป เด็กสามารถทำได้และต้องส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
การสอนโดยบังเอิญ
เด็กเดินเข้ามาหาครูตอนที่เด็กว่าง ครูที่เด็กจะเข้ามาหาบ่อยๆ ครูที่เด็กเชื่อใจ ไว้วางใจ ครูสามารถเปิดใจกับเด็กได้ครูพร้อมรับเด็กเสมอ ไม่รำคาญเด็ก ครูควรแบ่งเวลาให้กับเด็กคนอื่นด้วย อย่าใช้เวลานานเกินไปทำให้เขารู้ว่าการที่เขาเข้ามาหาครูเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน
อุปกรณ์
- สื่อที่ไม่แบ่งแยกประเภท และวิธีการเล่นไม่ตายตัว
- เด็กพิเศษต้องมีบัดดี้ เช่นการเล่นแบบคู่ขนาน น้องพิเศษอาจจะเริ่มเรียนรู้จากคนที่เก่งกว่า
- เด็กพิเศษไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงตาราง
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
- ตั้งจุดประสงค์ไว้ให้มุ่งไปที่จุดประสงค์
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำ ฟังหูไว้หู
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
· เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะความสามารถ เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการใช้แรงเสริม แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
วิธีแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือร่วมกิจกรรมกับเด็ก
- ถ้าเด็กพิเศษกำลังทำงานอยู่อย่าเข้าไปถามเด็กเพราะเด็กจะเปลี่ยนความคิด
หลักการให้แรงเสริม
- คำชมต้องชมเฉพาะเรื่องที่เด็กทำได้ตามวัตถุประสงค์
- ครูต้องให้แรงเสริมเด็กทันที
- ครูต้องมองข้ามพฤติกรรมของเด็กในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
- ย่อยงาน ใช้ได้ดีมากกับเด็กพิเศษ
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ในการให้แรงเสริม อย่ามากจนเกินไป ควรจะมีความเหมาะสมความต่อเนื่อง
- สอบแบบก้าวไปข้างหน้า หรือ ย้อนมาข้างหลัง คือ ก้าวไปข้างหน้าเริ่มขั้นตอนแรกให้เด็กทำย้อนมาข้างหลัง ย้อนจากขั้นตอนสุดท้ายมา หรือให้เด็กทำเองในขั้นตอนสุดท้าย
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
เพลงฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
เพลงผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
เพลงกินผัก
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกาว
คะน้า กว้างตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
เพลงดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลงจ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ. ตฤณ แจ่มถิน
การนำไปใช้
· สามารถนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ไปปรับทัศนคติของตเองที่มีต่อเด็กพิเศษได้ และการใช้แรงเสริม นำไปใช้ในอนาคตการเป็นครูได้
การประเมิน
· ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกระหว่างเรียนตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์
· เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
· อาจารย์ เตรียมความพร้อมในการสอน ใช้เทคโนโลยีมาใช้ และยกตัวอย่างประกอบการสอนเพื่อความเข้าใจมากขึ้น